ประเทศอินโดนีเซีย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 รัฐบาลอินโดนีเซียได้เริ่มดำเนินนโยบายประกันสุขภาพ
ให้กับประชาชนทั่วทุกภูมิภาค เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555 ว่า ประชากรของอินโดนีเซีย
239 คน โดยแยกเป็นกลุ่มคนสามกลุ่มดังนี้
1. กลุ่มเด็กและเยาวชน จำนวน 119 ล้านคน
2.กลุ่มคนที่อายุมากกว่า 56 ปีขึ้นไป จำนวน 17 ล้านคน
3.กลุ่มแรงงาน จำนวน 104 ล้านคน โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อยดังนี้
ก) ข้าราชการ จำนวน5.5 ล้านคน
ข) พนักงานเอกชนและลูกจ้างรัฐบางส่วน จำนวน 35.8 ล้านคน
ค) คนว่างงาน จำนวน 9 ล้านคน
ง) กลุ่มคนทำงานส่วนตัวในชนบท เช่น ชาวนา ชาวประมง จำนวน 38.4 ล้านคน
จ) กลุ่มคนทำงานส่วนตัวในเมือง เช่น ร้านค้าปลีก คนขับแท็กซี่ คนทำงาน แม่บ้าน
จำนวน 15.3 ล้านคน
จากโครงการทั้งหมดรัฐบาลอิโดนีเซียตั้งเป้าหมายจะคุ้มครองดูแลให้ทั่วหน้า
โดยดำเนินการในปี พ.ศ.2557-2563 ทำให้อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีการประกันสุขภาพใหญ่ที่สุดในโลก
ระบบการศึกษาในโรงเรียน ประกอบด้วย ระดับการศึกษาขั้นต่างๆ ดังนี้
1)การศึกษาก่อนวัยเรียน เพื่อเตรียมความพร้อมของเด็กด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์ใช้เวลา 9 ปี 2) การศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนประถมศึกษาจะกำหนดโครงการ การศึกษาเป็นเวลา 6 ปีซึ่งโรงเรียนจะมีลักษณะแตกต่างกัน 2แบบ คือ
● โรงเรียนประถมศึกษาแบบทั่วไป (General Primary School)
● โรงเรียนประถมศึกษาพิเศษสำหรับเด็กพิการ (Special Primary School for Handicapped Children)
3) การศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปีสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา ตอนต้น มี5 แบบ ดังนี้
แบบที่ 1 การศึกษาระดับมัธยมศึกษาทั่วไป
แบบที่ 2 การศึกษาระดับมัธยมศึกษาทางวิชาชีพ แยกออกเป็น 6 กลุ่ม
1) เกษตรกรรมและการป่าไม้
2) เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม
3) ธุรกิจและการจัดการ
4) ความเป็นอยู่ของชุมชน
5) การท่องเที่ยว
6) ศิลปะหัตถกรรม
แบบที่ 3 การศึกษาระดับมัธยมศึกษาด้านศาสนา
แบบที่ 4 การศึกษาระดับมัธยมศึกษาแบบบริการ
แบบที่ 5 การศึกษาระดับมัธยมศึกษาพิเศษ
4) การศึกษาระดับสูงมีเป้าหมายเพื่อจัดหาทักษะพื้นฐานการพัฒนา ตนเองในฐานะที่เป็นปัจเจกชน สมาชิกในสังคม ประชากรในประเทศ และโลกเท่าๆกับที่เตรียมพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่อาเซียน
11.ระบบกฎหมาย
อินโดนีเซียเป็นประเทศที่เก่าแก่ มีกฎหมายที่ใช้มาก่อนศตวรรตที่ 17 เป็นกฎหมายจารีต
ประเพณีที่แตกต่างจากจารีตประเพณีทั่วไป ต่อมาตกเป็นเมืองขึ้นของดัตช์ หรือ ประเทศเนเธอร์แลนด์
ในปัจจุบันมา 301 ปี ทำให้อินโดนีเซียได้รับอิทธิพลกฎหมายอาณานิคมดัตซ์ (Dutch Colonial Lew)
อย่างประมวลกฎหมายพาณิชย์ปี พ.ศ.2390 จนกระทั่งสิ้นสงครามโลกครั้งที่2
อินโดนีเซียมีกฎหมายรัฐธรรมนูญครั้งแรกในปี พ.ศ.2488 และได้มีการแก้ไขมาแล้ว 4 ครั้ง
ซึ่งกฎหมายรัฐธรรมนูญได้แยกอำนาจการปกครองเป็น 3 ส่วน คือ อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ
และอำนาจตุลาการ โดยแบ่งการบริหารออกเป็น 3 ระดับ คือ
1. ศาลเขต ซึ่งเป็นศาลชั้นต้น (District Courts)
2. ศาลสูง ซึ่งเป้นศาลอุทธรณ์(High Court)
3. ศาลสูงสุด ซึ่งเป็นศาลฎีกา (Supreme Court)
12 ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอินโดนีเซีย
ไทยเริ่มมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2493 โดยเป็นพันธมิตรที่สำคัญของไทยทั้งในกรอบอาเซียน และในเวทีระหว่างประเทศอื่นๆ การที่อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก ท่าทีของอินโดนีเซียเกี่ยวกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ย่อมมี่ผลต่อ
ท่าทีของประเทศมุสลิม
ในด้านการค้า อินโดนีเซียเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญอันดับ 2 ของไทยในอาเซียน รองจากมาเลเซีย
และเป็นคู่ค้าอันดับ 5 ของไทยในโลก ในปี 2554 มูลค่าการค้าทวิภาคีระหว่างไทยกับอินโดนีเซีย เท่ากับ 17,454 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการนำเข้า 7,376 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ ส่งออก 10,078 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยได้ดุลการค้า 2,702 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐในปี2555มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับอินโดนีเซียเท่ากับ 19,297 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการนำเข้าจากอินโดนีเซีย 8,087 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่งออก 11,209 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยได้ ดุลการค้า 3,122 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าส่งออกของไทยไปอินโดนีเซียที่สำคัญ ได้แก่ รถยนต์อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์เม็ดพลาสติก น้ำตาลทราย เครื่องจักรกล และส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์
สินค้านำเข้าจากอินโดนีเซียที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันดิบ ถ่านหิน สินแร่ โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ของเครื่องจักรกลรวมถึงส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์
ด้านการลงทุน ในปี2555 ไทยเป็นประเทศผู้ลงทุนอันดับที่ 15 ใน อินโดนีเซีย โดยมีมูลค่าการลงทุน 68 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2 พันล้านบาท) ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนด้านอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมรถยนต์อุตสาหกรรมยางและพลาสติก
ส่วนในด้านอินโดนีเซียเป็นผู้ลงทุนในไทยเป็นอันดับที่ 3 ของกลุ่ม อาเซียนในปีพ.ศ.2555ซึ่งรองจากสิงคโปร์และมาเลเซียโดยมีการลงทุน ในไทยจำนวน 1 โครงการ มูลค่าการลงทุน 1.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (43 ล้านบาท) ผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น