ประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาอิสลามมากที่สุดในโลกและยังเป็นประเทศที่มีเกาะมากที่สุดในโลกจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยในปีพ.ศ.2555 ประเทศอินโดนีเซียมีอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สูงถึง 1.237 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัสในด้านการลงทุนจากต่างประเทศอินโดนีเซียสามารถดึงดูดนักลงทุน การเมืองที่มีเสถียรภาพทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์มีตลาดรองรับขนาดใหญ่ เนื่องจากมีประชากรมากถึง 245.6 ล้านคน มากกว่าร้อยละ 50 อาศัยอยู่ในเขต
เมืองมีชีวิตความเป็นอยู่แบบสมัยใหม่ด้านการลงทุนของเอกชนไทยในอินโดนีเซียปี2553 มี14 โครงการ
มูลค่า 45.2 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ปี2554 มี30 โครงการ มูลค่า 87.2
ล้านดอลลาร์สหรัฐไทยมีการลงทุนเป็นอันดับสามตามหลังสิงคโปร์และมาเลเซีย ด้านการค้าระหว่างกันโดดเด่นมากใน 2 ปีที่ผ่านมา ปี2554มีมูลค่าสูงถึง 17,454 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีเนื่องจากไทย
ได้ดุลการค้าจากอินโดนีเซียตัวเลขส่งออกไปยังไทยมีมูลค่า 7,375ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า10,078 ล้านดอลลาร์สหรัฐประเทศไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ามูลค่า 2,702 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
6.ข้อมูลการเมืองการปกครองแม้สภาพประเทศจะเป็นหมู่เกาะแต่ในอดีตมีการรวมศูนย์อยู่ที่ส่วนกลาง โดยเฉพาะในช่วง 31 ปีที่ปกครองโดยประธานาธิบดีซูฮาร์โต ที่ได้กระชับอำนาจในช่วงต้นทศวรรษ 1970 (พ.ศ. 2513) จำนวนรัฐมนตรีกว่าครึ่งหนึ่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศจำนวน 2 ใน 3 เป็นทหารทั้งสิ้นและเริ่มเปลี่ยนแปลงเป็นการเลือกตั้งเมื่อประธานนาธิบดีซูฮาร์โตถูกประชาชนขับไล่และต้องลาออกจากตำแหน่ง โครงสร้างการปกครองของอินโดนีเซียในปัจจุบันจึงแบ่งออกเป็น2ส่วน คือ การบริหารส่วนกลางและการบริหาร
ส่วนท้องถิ่น
1.การบริหารส่วนกลาง มีกระทรวง 34 กระทรวง กรม และกองต่างๆ โดยมีข้าราชการตั้งแต่ระดับปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้อำนวยการกอง ฯลฯ เป็นบุคลากรร่วมบริหารในส่วนราชการ
2.การบริหารส่วนท้องถิ่น ในอินโดนีเซียมีหลายรูปแบบ ที่แยกการบริหารออกเป็นหลายแบบ หลายระดับ ตั้งแต่ระดับภาคหรือมณฑลจนถึงระดับหมู่บ้าน
2.1 การบริหารแบบภาคหรือมณฑล มี32 ภาคหรือมณฑล(Provinces or Propinsi-Daerah Otonom Tingkat) มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ(Gubernur-Governor) โดยทางอ้อมผ่านการคัดเลือกของ
สมาชิกสภามณฑลที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนจึงทำให้สภามณฑล(DewanPerwakilanRakyatDaerahTingkatI)มีอำนาจหน้าที่สำคัญๆผู้ว่าราชการมณฑลในการจัดทำงบประมาณของมณฑลให้คำแนะนำและเสนอข้อคิดเห็นต่อการดำเนินกิจการต่างๆมณฑลประธานาธิบดีซูฮาร์โตเป็นการปกครองในส่วนภูมิภาค โดยผู้ว่าราชการถูกส่งมาจากส่วนกลาง
2.2 จังหวัด (Regencies) และเมืองใหญ่ (City) ด้วยพื้นที่การปกครองของประเทศอินโดนีเซียกว้างขวางมาก และกระจัดการะจายไปตามเกาะต่างๆจึงทำให้การจัดการพื้นที่การปกครองทับซ้อนกันซึ้งทั้งหมดมาจากการเลือกตั้ง และที่สำคัญการปกครองของจังหวัดและเมืองใหญ่อยู่ในระดับเดียวกันเพียงแต่การบริหารงานของ
นายกเทศมนตรีอยู่ในเขตเมืองที่ถูกจัดแบ่งโดยประชากรและเศรษฐกิจในเมืองจะไม่มีภาคการเกษตรส่วนจังหวัด(RegenciesหรือKabupaten)
2.3อำาเภอ (District หรือ Kecamatan) เป็นการปกครองระดับรองลงมามีการเลือกตั้งนายอำเภอและสภาอำเภอ ซึ่งการแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดกับนายอำเภอมีกระบวนการที่คล้ายคลึงกัน คือ ในระดับจังหวัด สภาจังหวัด จะเลือก 2-3 คนจากจำนวนผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดยื่นเสนอต่อรัฐมนรตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
2.4ตำาบล (Kelurahan) และผู้นำของตำบล คือกำนัน(Lurah)มาจากการแต่งตั้งของนายอำเภอหรือนายกเทศมนตรี
2.5หมู่บ้าน (Desa)เป็นหน่วยการปกครองที่เล็กที่สุด มีผู้ใหญ่บ้าน(KepalaDesa)เป็นผู้นำในหมู่บ้านการทำงานร่วมกับ คณะกรรมการหมู่บ้าน(TheRuralRepresentativeBoard)วึ่งต่างจากการเลือกตั้งในด้านการบริหารต้องรายงานต่อนายอำเภอ
7ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม
อินโดนีเซียมีประชากรที่พูดภาษาต่างๆมากกว่า 100 ภาษา ผู้ที่อาศัยอยู่ตามหมู่เกาะเเหล่านี้เป็นพวกมาเลย์-โพลีนีเซีย(Malayo-Polynesian)อินโดนีเซียที่เป็นภาษาราชการนั้นมีความคล้ายคลึงกัยภาษามาเลย์ มีการนำคำในภาษาต่างประเทศมาใช้มากมาย ชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่นั้นใจกว้าง และเป็นมิตรกับคนแปลกหน้ามักเต็มใจเปิดบ้านรับแขกต่างเมืองเพื่้อเป็นการต้อนรับกับทั้งเชื้อเชิญให้เข้าไปเยือนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาแม้ว่าอินโดนีเซียเป็นรัฐอิสลามใหญ่ที่สุดในโลกมีผู้นับถือศาสนาอิสลามประมาณร้อยล้ะ 88 ของประชาการทั้งประเทศแต่ศาสนาอิสลามในอินโดนีเซียไม่เหมือนกับศาสนาอิสลามทั่วไปที่พบอยู่ในประเทศอาหรับหรืออินเดีย มีความแตกต่างที่เห็นได้ชัด คือ สตรีมุสลิม ศาสนาหลักทุกศาสนาที่เข้ามาเผยแพร่ในอินโดนีเซีย มักมีพฤติกรรมผสมผสานและเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามความเชื่อดังเดิมของชาวอินโดนีเซียซึ่งเป็นชาวเกาะ ชาวบาหลีนับถือเทวรูปและพระเจ้าทั้งสามของฮินดู คือ พระศิวะ พระพรหม และพระวิษณุ แต่ชาวบาหลีมีมีความเชื่อในเรื่องของอำนาจฤดูกาล
ศาสนาป็นมรดกที่ชาวช์ผู้ปกครองอินโดนีเซียเป็นเวลานาน300กว่าทิ้งไว้ให้ชาอินโดนีเซียแม้ว่าจจุบันมีชาอินโดนีเซียที่เป็นคริสเตียนเป็นชนกลุ่มน้อยของประเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น