วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ข้อมูลทั่วไป ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์และลักษณะประชากร





1.ข้อมูลทั่วไป
ชื่อประเทศอย่างเป็นทางการ : สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)
เมืองหลวง : กรุงจาการ์ตา
พื้นที่ : 1,904.6ล้านตารางกฺโลเมตร
ประชากร : 247.21 ล้านคน
วันชาติ : 17 สิงหาคม
ภาษาราชการ : บาฮาซาอินโดนีเซีย
ระบบการปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ
สุกลเงินตรา :รูเปียห์
อัตราการแลกเปลี่ยน : ≈9.39 รูเปียห์ ต่อ1ดอลล่าร์สหรัฐ
ผลิตภัณฑ์มวลรวม : 878.0 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ


2.ลักษณะทางภูมิศาสตร์
   ประเทศอินโดนีเซียหรือชื่อทางราชการ คือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย(Republic of Indonesia)เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำให้อินโดนีเซีย สามารถควบคุมเส้นทางการติดต่อระหว่างมหาสมุทรทั้งสองผ่านช่องแคบ สำคัญต่างๆ ล้วนเป็นเส้นทางที่ใช้สำหรับขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลาง มายังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเซียตะวันออก โดยอินโดนีเซียมีอาณาเขตดังนี้

 • ทิศเหนือ เกาะบอร์เนียวมีอาณาเขตติดกับรัฐ ซาราวัคและรัฐซาบาห์ของมาเลเซีย
 • ทิศใต้ มีเกาะห้อมล้อมสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต
 • ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดกับประเทศปาปัวนิวกินี
 • ทิศตะวันออก เกาะอีเรียนจายามีอาณาเขตติดกับ เฉียงเหนือ ประเทศฟิลิปปินส์
 • ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เกาะสุมาตรามีอาณาเขตติดกับประเทศ มาเลเซีย

3.ประวัติศาสตร์
      ในอดีตหมู่เกาะต่างๆเหล่านี้ ที่ประกอบขึ้นเป็นประเทศอินโดนีเซีย ในปัจจุบันยังไม ่มีการรวมตัวกันเป็นรัฐเดียว แต ่เรียกแยกกันไปตาม อาณาจักรจนชาวดัตช์ได้เข้ามาปกครองมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอินเดีย ทั้งด้านการค้าและวัฒนธรรม ทำให้ได้รับอิทธิพลทางด้านความเชื่อของ ศาสนาฮินดูและพุทธ จนกระทั่งอิทธิพลของศาสนาอิสลามได้เข้ามา แทนที่ในศตวรรษที่ 13
      ในศตวรรษที่ 15 อินโดนีเซียเริ่มเป็นที่สนใจของชาวยุโรป เนื่องจาก เป็นแหล่งเครื่องเทศ ชาวโปรตุเกสและสเปนได้เริ่มเข้ามาในภูมิภาคช่วง ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 และโปรตุเกสได้ยึดครองติมอร์ตะวันออกเป็น อาณานิคมและใน พ.ศ. 2145 นับเป็นจุดเริ่มต้น ของการเข้าปกครองอินโดนีเซียในฐานะอาณานิคมของดัตช์
      ต่อมาใน พ.ศ. 2342 หลังจากรัฐบาลฮอลันดาเข้าควบคุมกิจการ บริษัท VOC รัฐบาลฮอลันดาก็ได้เข้าปกครองอินโดนีเซียในรูปแบบ อาณานิคม ในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 20 เกิดกระแสชาตินิยม ในอินโดนีเซียต่อต้านการปกครองของเจ้าอาณานิคม
      ใน พ.ศ. 2485 ญี่ปุ่นมีชัยชนะเหนือบริษัทดัตช์อีสท์อินเดีย และได้ เข้าปกครองอินโดนีเซียระยะหนึ่ง หลังจากที่ญี่ปุ่นแพ้สงคราม กลุ่มชาตินิยมนำโดยซูการ์โน และฮัตตา  ได้ประกาศอิสรภาพให้แก่อินโดนีเซีย ในวันที่17 สิงหาคม พ.ศ. 2488จนกระทั่งวันที่27ธันวาคมพ.ศ.2488ดัตช์จึงได้ยอมมอบ เอกราชคืนให้แก่อินโดนีเซียอย่างสมบูรณ์
      ในเดือนเมษายน 2525 นานาชาติได้ประกาศให้การยอมรับการอ้าง อธิปไตยเหนือพื้นที่ทะเล ซึ่งเชื่อมเกาะต่างๆ ของอินโดนีเซียเข้าด้วยกัน ทำให้อินโดนีเซียสามารถประกาศให้พื้นที่ทะเลเป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ของประเทศได้ในปี2526

4.ลักษณะประชากร
      ประชากรอินโดนีเซียประกอบด้วยหลายเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์แต่ละ เผ่าพันธุ์ต ่างก็มีมรดกทางวัฒนธรรมและลักษณะทางสังคมของตน สืบทอดกันมามีลักษณะแยกกันเป็นหมู่เกาะมากมายและมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล ประชากรติดต่อกันได้ยาก ทำให้แต่ละภูมิภาคมีรูปแบบวัฒนธรรมของ ตนเอง จึงปรากฏลักษณะวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษา ที่ใช้และวิถีชีวิตแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มชน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น สามกลุ่มใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ
 •เป็นกลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่ในเกาะชวาและเกาะบาหลี ผู้คนที่อยู่ในแถบนี้จะยึดมั่นตามแนวทางของศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ มีวัฒนธรรมเน้นหนักในเรื่องคุณค่าของจิตใจและสังคมก่อให้เกิดการพัฒนาศิลปะอย่างมากมายโดยเฉพาะนาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์
•เป็นกลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่ตามบริเวณริมฝั่งทะเลของ เกาะต่างๆ ดำเนินชีวิตอยู่ได้ด้วยการประกอบการค้าขาย มีชีวิตทาง วัฒนธรรมตามหลักของศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด และเป็นนักธุรกิจ ของสังคมอินโดนีเซียยุคใหม่ และได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีความรู้ทาง ศาสนาและกฎหมาย
•เป็นกลุ่มที่มีความล้าหลังมากอาศัยอยู่ตามบริเวณเทือกเขาในส่วนลึกของประเทศ ดำเนินชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์และการเพาะปลูก


5.ข้อมูลเศรษฐกิจ
ประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาอิสลามมากที่สุดในโลกและยังเป็นประเทศที่มีเกาะมากที่สุดในโลกจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยในปีพ.ศ.2555 ประเทศอินโดนีเซียมีอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สูงถึง 1.237 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัสในด้านการลงทุนจากต่างประเทศอินโดนีเซียสามารถดึงดูดนักลงทุน การเมืองที่มีเสถียรภาพทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์มีตลาดรองรับขนาดใหญ่ เนื่องจากมีประชากรมากถึง 245.6 ล้านคน มากกว่าร้อยละ 50 อาศัยอยู่ในเขต
เมืองมีชีวิตความเป็นอยู่แบบสมัยใหม่ด้านการลงทุนของเอกชนไทยในอินโดนีเซียปี2553 มี14 โครงการ
มูลค่า 45.2 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ปี2554 มี30 โครงการ มูลค่า 87.2
ล้านดอลลาร์สหรัฐไทยมีการลงทุนเป็นอันดับสามตามหลังสิงคโปร์และมาเลเซีย ด้านการค้าระหว่างกันโดดเด่นมากใน 2 ปีที่ผ่านมา ปี2554มีมูลค่าสูงถึง 17,454 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีเนื่องจากไทย
ได้ดุลการค้าจากอินโดนีเซียตัวเลขส่งออกไปยังไทยมีมูลค่า 7,375ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า10,078 ล้านดอลลาร์สหรัฐประเทศไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ามูลค่า  2,702 ล้านดอลลาร์สหรัฐ



6.ข้อมูลการเมืองการปกครอง
แม้สภาพประเทศจะเป็นหมู่เกาะแต่ในอดีตมีการรวมศูนย์อยู่ที่ส่วนกลาง โดยเฉพาะในช่วง 31 ปีที่ปกครองโดยประธานาธิบดีซูฮาร์โต ที่ได้กระชับอำนาจในช่วงต้นทศวรรษ 1970 (พ.ศ. 2513) จำนวนรัฐมนตรีกว่าครึ่งหนึ่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศจำนวน 2 ใน 3 เป็นทหารทั้งสิ้นและเริ่มเปลี่ยนแปลงเป็นการเลือกตั้งเมื่อประธานนาธิบดีซูฮาร์โตถูกประชาชนขับไล่และต้องลาออกจากตำแหน่ง โครงสร้างการปกครองของอินโดนีเซียในปัจจุบันจึงแบ่งออกเป็น2ส่วน คือ การบริหารส่วนกลางและการบริหาร
ส่วนท้องถิ่น
1.การบริหารส่วนกลาง มีกระทรวง 34 กระทรวง กรม และกองต่างๆ โดยมีข้าราชการตั้งแต่ระดับปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้อำนวยการกอง ฯลฯ เป็นบุคลากรร่วมบริหารในส่วนราชการ
2.การบริหารส่วนท้องถิ่น ในอินโดนีเซียมีหลายรูปแบบ ที่แยกการบริหารออกเป็นหลายแบบ หลายระดับ ตั้งแต่ระดับภาคหรือมณฑลจนถึงระดับหมู่บ้าน
2.1  การบริหารแบบภาคหรือมณฑล มี32 ภาคหรือมณฑล(Provinces or Propinsi-Daerah Otonom Tingkat) มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ(Gubernur-Governor) โดยทางอ้อมผ่านการคัดเลือกของ
สมาชิกสภามณฑลที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนจึงทำให้สภามณฑล(DewanPerwakilanRakyatDaerahTingkatI)มีอำนาจหน้าที่สำคัญๆผู้ว่าราชการมณฑลในการจัดทำงบประมาณของมณฑลให้คำแนะนำและเสนอข้อคิดเห็นต่อการดำเนินกิจการต่างๆมณฑลประธานาธิบดีซูฮาร์โตเป็นการปกครองในส่วนภูมิภาค โดยผู้ว่าราชการถูกส่งมาจากส่วนกลาง
2.2 จังหวัด (Regencies) และเมืองใหญ่ (City) ด้วยพื้นที่การปกครองของประเทศอินโดนีเซียกว้างขวางมาก และกระจัดการะจายไปตามเกาะต่างๆจึงทำให้การจัดการพื้นที่การปกครองทับซ้อนกันซึ้งทั้งหมดมาจากการเลือกตั้ง และที่สำคัญการปกครองของจังหวัดและเมืองใหญ่อยู่ในระดับเดียวกันเพียงแต่การบริหารงานของ
นายกเทศมนตรีอยู่ในเขตเมืองที่ถูกจัดแบ่งโดยประชากรและเศรษฐกิจในเมืองจะไม่มีภาคการเกษตรส่วนจังหวัด(RegenciesหรือKabupaten)

2.3อำาเภอ (District หรือ Kecamatan) เป็นการปกครองระดับรองลงมามีการเลือกตั้งนายอำเภอและสภาอำเภอ ซึ่งการแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดกับนายอำเภอมีกระบวนการที่คล้ายคลึงกัน คือ ในระดับจังหวัด สภาจังหวัด จะเลือก 2-3 คนจากจำนวนผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดยื่นเสนอต่อรัฐมนรตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
2.4ตำาบล (Kelurahan) และผู้นำของตำบล คือกำนัน(Lurah)มาจากการแต่งตั้งของนายอำเภอหรือนายกเทศมนตรี
2.5หมู่บ้าน (Desa)เป็นหน่วยการปกครองที่เล็กที่สุด มีผู้ใหญ่บ้าน(KepalaDesa)เป็นผู้นำในหมู่บ้านการทำงานร่วมกับ คณะกรรมการหมู่บ้าน(TheRuralRepresentativeBoard)วึ่งต่างจากการเลือกตั้งในด้านการบริหารต้องรายงานต่อนายอำเภอ


7ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม
อินโดนีเซียมีประชากรที่พูดภาษาต่างๆมากกว่า 100 ภาษา ผู้ที่อาศัยอยู่ตามหมู่เกาะเเหล่านี้เป็นพวกมาเลย์-โพลีนีเซีย(Malayo-Polynesian)อินโดนีเซียที่เป็นภาษาราชการนั้นมีความคล้ายคลึงกัยภาษามาเลย์ มีการนำคำในภาษาต่างประเทศมาใช้มากมาย ชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่นั้นใจกว้าง และเป็นมิตรกับคนแปลกหน้ามักเต็มใจเปิดบ้านรับแขกต่างเมืองเพื่้อเป็นการต้อนรับกับทั้งเชื้อเชิญให้เข้าไปเยือนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาแม้ว่าอินโดนีเซียเป็นรัฐอิสลามใหญ่ที่สุดในโลกมีผู้นับถือศาสนาอิสลามประมาณร้อยล้ะ 88 ของประชาการทั้งประเทศแต่ศาสนาอิสลามในอินโดนีเซียไม่เหมือนกับศาสนาอิสลามทั่วไปที่พบอยู่ในประเทศอาหรับหรืออินเดีย มีความแตกต่างที่เห็นได้ชัด คือ สตรีมุสลิม ศาสนาหลักทุกศาสนาที่เข้ามาเผยแพร่ในอินโดนีเซีย มักมีพฤติกรรมผสมผสานและเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามความเชื่อดังเดิมของชาวอินโดนีเซียซึ่งเป็นชาวเกาะ ชาวบาหลีนับถือเทวรูปและพระเจ้าทั้งสามของฮินดู คือ พระศิวะ พระพรหม และพระวิษณุ แต่ชาวบาหลีมีมีความเชื่อในเรื่องของอำนาจฤดูกาล
ศาสนาป็นมรดกที่ชาวช์ผู้ปกครองอินโดนีเซียเป็นเวลานาน300กว่าทิ้งไว้ให้ชาอินโดนีเซียแม้ว่าจจุบันมีชาอินโดนีเซียที่เป็นคริสเตียนเป็นชนกลุ่มน้อยของประเทศ

8. โครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค



การคมนาคมทางบก 
แบ่งการเดินทางออกเป็น 2 ส่วน คือ การเดินทางโดยถนน
ประเทศอินโดนีเซียมีถนนยาว 391,009 กิโลเมตร ส่วนใหญอยู่บน เกาะชวา 
นอกนั้นเป็นโครงข่ายถนนบนเกาะสุลาเวสีและกาลิมันตัน ขณะที่ เกาะอื่นๆ ยังคอนข้างจำกัด
สภาพถนนเป็นถนนลาดยาง (Asphalted Roads) ยาว 216,714 กิโลเมตร หรือประมาณรอยละ 55 ของถนน ทั้งหมดเทานั้น นอกนั้นเป็นถนนไมได้ล่าดยาง(Non-asphalted Roads) 
148,701กิโลเมตรและถนนพื้นผิวอื่นๆ25,594กิโลเมตรในอินโดนีเซีย มีการเดินรถ
โดยสารปรับอากาศระหว่างเมือง โดยเสนทางเดินรถที่มี ผู้นิยมใช้มากที่สุด 
คือเสนท างบาหลี-บันดาอะเจห์(Bali-Banda Aceh Route)
 เปิดบริการทุกวันทั้งกลางวันและกลางคืน นอกจากนั้นยังมี
 บริการเดินรถโดยสารอีกหลายสายที่วิ่งรับผูโดยสารระหวางเมืองสำคัญ ต่างๆ ในเกาะชวา













วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559

9 ระบบสาธารณสุข

          ประเทศอินโดนีเซีย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 รัฐบาลอินโดนีเซียได้เริ่มดำเนินนโยบายประกันสุขภาพ
ให้กับประชาชนทั่วทุกภูมิภาค เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555 ว่า ประชากรของอินโดนีเซีย
239 คน โดยแยกเป็นกลุ่มคนสามกลุ่มดังนี้
  1. กลุ่มเด็กและเยาวชน จำนวน 119 ล้านคน
  2.กลุ่มคนที่อายุมากกว่า 56 ปีขึ้นไป จำนวน 17 ล้านคน
  3.กลุ่มแรงงาน จำนวน 104 ล้านคน โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อยดังนี้
     ก) ข้าราชการ จำนวน5.5 ล้านคน
     ข) พนักงานเอกชนและลูกจ้างรัฐบางส่วน จำนวน 35.8 ล้านคน
     ค) คนว่างงาน จำนวน 9 ล้านคน
     ง) กลุ่มคนทำงานส่วนตัวในชนบท เช่น ชาวนา ชาวประมง จำนวน 38.4 ล้านคน
     จ) กลุ่มคนทำงานส่วนตัวในเมือง เช่น ร้านค้าปลีก  คนขับแท็กซี่ คนทำงาน แม่บ้าน
     จำนวน 15.3 ล้านคน
           จากโครงการทั้งหมดรัฐบาลอิโดนีเซียตั้งเป้าหมายจะคุ้มครองดูแลให้ทั่วหน้า
โดยดำเนินการในปี พ.ศ.2557-2563 ทำให้อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีการประกันสุขภาพใหญ่ที่สุดในโลก

10.ระบบการศึกษา

        ระบบการศึกษาในโรงเรียน ประกอบด้วย ระดับการศึกษาขั้นต่างๆ ดังนี้
 1)การศึกษาก่อนวัยเรียน เพื่อเตรียมความพร้อมของเด็กด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์ใช้เวลา 9  ปี 2) การศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนประถมศึกษาจะกำหนดโครงการ การศึกษาเป็นเวลา 6 ปีซึ่งโรงเรียนจะมีลักษณะแตกต่างกัน 2แบบ คือ
 ● โรงเรียนประถมศึกษาแบบทั่วไป (General Primary School)
 ● โรงเรียนประถมศึกษาพิเศษสำหรับเด็กพิการ (Special Primary School for Handicapped Children)
   3) การศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปีสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา ตอนต้น มี5 แบบ ดังนี้
แบบที่ 1 การศึกษาระดับมัธยมศึกษาทั่วไป
แบบที่ 2 การศึกษาระดับมัธยมศึกษาทางวิชาชีพ แยกออกเป็น 6 กลุ่ม
 1) เกษตรกรรมและการป่าไม้
 2) เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม
 3) ธุรกิจและการจัดการ
 4) ความเป็นอยู่ของชุมชน
 5) การท่องเที่ยว
 6) ศิลปะหัตถกรรม
แบบที่ 3 การศึกษาระดับมัธยมศึกษาด้านศาสนา
แบบที่ 4 การศึกษาระดับมัธยมศึกษาแบบบริการ
แบบที่ 5 การศึกษาระดับมัธยมศึกษาพิเศษ
 4) การศึกษาระดับสูงมีเป้าหมายเพื่อจัดหาทักษะพื้นฐานการพัฒนา ตนเองในฐานะที่เป็นปัจเจกชน สมาชิกในสังคม ประชากรในประเทศ และโลกเท่าๆกับที่เตรียมพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่อาเซียน
       11.ระบบกฎหมาย
       
        อินโดนีเซียเป็นประเทศที่เก่าแก่ มีกฎหมายที่ใช้มาก่อนศตวรรตที่ 17 เป็นกฎหมายจารีต
ประเพณีที่แตกต่างจากจารีตประเพณีทั่วไป ต่อมาตกเป็นเมืองขึ้นของดัตช์ หรือ ประเทศเนเธอร์แลนด์
ในปัจจุบันมา 301 ปี ทำให้อินโดนีเซียได้รับอิทธิพลกฎหมายอาณานิคมดัตซ์ (Dutch Colonial Lew)
อย่างประมวลกฎหมายพาณิชย์ปี พ.ศ.2390 จนกระทั่งสิ้นสงครามโลกครั้งที่2
         อินโดนีเซียมีกฎหมายรัฐธรรมนูญครั้งแรกในปี พ.ศ.2488 และได้มีการแก้ไขมาแล้ว 4 ครั้ง
ซึ่งกฎหมายรัฐธรรมนูญได้แยกอำนาจการปกครองเป็น 3 ส่วน คือ อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ
และอำนาจตุลาการ โดยแบ่งการบริหารออกเป็น 3 ระดับ คือ
1. ศาลเขต ซึ่งเป็นศาลชั้นต้น (District Courts)
 2. ศาลสูง  ซึ่งเป้นศาลอุทธรณ์(High Court)
 3. ศาลสูงสุด ซึ่งเป็นศาลฎีกา (Supreme Court)

12 ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอินโดนีเซีย

      ไทยเริ่มมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2493 โดยเป็นพันธมิตรที่สำคัญของไทยทั้งในกรอบอาเซียน และในเวทีระหว่างประเทศอื่นๆ การที่อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก ท่าทีของอินโดนีเซียเกี่ยวกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ย่อมมี่ผลต่อ
ท่าทีของประเทศมุสลิม
      ในด้านการค้า อินโดนีเซียเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญอันดับ 2 ของไทยในอาเซียน รองจากมาเลเซีย
และเป็นคู่ค้าอันดับ 5 ของไทยในโลก ในปี 2554 มูลค่าการค้าทวิภาคีระหว่างไทยกับอินโดนีเซีย เท่ากับ 17,454 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  โดยเป็นการนำเข้า 7,376 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ ส่งออก 10,078 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยได้ดุลการค้า 2,702 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐในปี2555มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับอินโดนีเซียเท่ากับ 19,297 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการนำเข้าจากอินโดนีเซีย 8,087 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่งออก 11,209 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยได้ ดุลการค้า 3,122 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
 สินค้าส่งออกของไทยไปอินโดนีเซียที่สำคัญ ได้แก่ รถยนต์อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์เม็ดพลาสติก น้ำตาลทราย เครื่องจักรกล และส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์

        สินค้านำเข้าจากอินโดนีเซียที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันดิบ ถ่านหิน สินแร่ โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ของเครื่องจักรกลรวมถึงส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์
 ด้านการลงทุน ในปี2555 ไทยเป็นประเทศผู้ลงทุนอันดับที่ 15 ใน อินโดนีเซีย โดยมีมูลค่าการลงทุน 68 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2 พันล้านบาท) ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนด้านอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมรถยนต์อุตสาหกรรมยางและพลาสติก
       ส่วนในด้านอินโดนีเซียเป็นผู้ลงทุนในไทยเป็นอันดับที่ 3 ของกลุ่ม อาเซียนในปีพ.ศ.2555ซึ่งรองจากสิงคโปร์และมาเลเซียโดยมีการลงทุน ในไทยจำนวน 1 โครงการ มูลค่าการลงทุน 1.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (43 ล้านบาท) ผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ภาระงาน


ข้อมูลประเทศอินโดนีเซีย
1. ข้อมูลทั่วไป      นนท์มนัส
2. ลักษณะทางภูมิศาสตร์ นนท์มนัส
3. ประวัติศาสตร์ นนท์มนัส
4. ลักษณะประชากร  นนท์มนัส
5. ข้อมูลเศรษฐกิจ  ฝน
6. ข้อมูลการเมืองการปกครอง  ฝน
7. ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม  ฝน
8. โครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค  ฝน
9. ระบบสาธารณสุข  สุวนันท์
10. ระบบการศึกษา  สุวนันท์
11. ระบบกฎหมาย  สุวนันท์
12. ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศอินโดนีเซีย  สุวนันท์

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

สมาชิกในกลุ่ม

1.นางสาว เกวลี               ตันศิริ              เลขที่27
2.นางสาว จินตนากาล     วงศ์สวัสดิ์       เลขที่28
3.นางสาว นนท์มนัส        เมืองมัจฉา      เลขที่30
4.นางสาว ปราญชลี         ดุริยะพันธ์       เลขที่32
5.นางสาว สุวนันท์           เสกแสร้ง        เลขที่33
6.นางสาว ฝน                  สุริภา              เลขที่34