ชื่อประเทศอย่างเป็นทางการ : สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)
เมืองหลวง : กรุงจาการ์ตา
พื้นที่ : 1,904.6ล้านตารางกฺโลเมตร
ประชากร : 247.21 ล้านคน
วันชาติ : 17 สิงหาคม
ภาษาราชการ : บาฮาซาอินโดนีเซีย
ระบบการปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ
สุกลเงินตรา :รูเปียห์
อัตราการแลกเปลี่ยน : ≈9.39 รูเปียห์ ต่อ1ดอลล่าร์สหรัฐ
ผลิตภัณฑ์มวลรวม : 878.0 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ
2.ลักษณะทางภูมิศาสตร์
ประเทศอินโดนีเซียหรือชื่อทางราชการ คือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย(Republic of Indonesia)เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำให้อินโดนีเซีย สามารถควบคุมเส้นทางการติดต่อระหว่างมหาสมุทรทั้งสองผ่านช่องแคบ สำคัญต่างๆ ล้วนเป็นเส้นทางที่ใช้สำหรับขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลาง มายังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเซียตะวันออก โดยอินโดนีเซียมีอาณาเขตดังนี้
• ทิศเหนือ เกาะบอร์เนียวมีอาณาเขตติดกับรัฐ ซาราวัคและรัฐซาบาห์ของมาเลเซีย
• ทิศใต้ มีเกาะห้อมล้อมสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต
• ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดกับประเทศปาปัวนิวกินี
• ทิศตะวันออก เกาะอีเรียนจายามีอาณาเขตติดกับ เฉียงเหนือ ประเทศฟิลิปปินส์
• ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เกาะสุมาตรามีอาณาเขตติดกับประเทศ มาเลเซีย
3.ประวัติศาสตร์
ในอดีตหมู่เกาะต่างๆเหล่านี้ ที่ประกอบขึ้นเป็นประเทศอินโดนีเซีย ในปัจจุบันยังไม ่มีการรวมตัวกันเป็นรัฐเดียว แต ่เรียกแยกกันไปตาม อาณาจักรจนชาวดัตช์ได้เข้ามาปกครองมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอินเดีย ทั้งด้านการค้าและวัฒนธรรม ทำให้ได้รับอิทธิพลทางด้านความเชื่อของ ศาสนาฮินดูและพุทธ จนกระทั่งอิทธิพลของศาสนาอิสลามได้เข้ามา แทนที่ในศตวรรษที่ 13
ในศตวรรษที่ 15 อินโดนีเซียเริ่มเป็นที่สนใจของชาวยุโรป เนื่องจาก เป็นแหล่งเครื่องเทศ ชาวโปรตุเกสและสเปนได้เริ่มเข้ามาในภูมิภาคช่วง ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 และโปรตุเกสได้ยึดครองติมอร์ตะวันออกเป็น อาณานิคมและใน พ.ศ. 2145 นับเป็นจุดเริ่มต้น ของการเข้าปกครองอินโดนีเซียในฐานะอาณานิคมของดัตช์
ต่อมาใน พ.ศ. 2342 หลังจากรัฐบาลฮอลันดาเข้าควบคุมกิจการ บริษัท VOC รัฐบาลฮอลันดาก็ได้เข้าปกครองอินโดนีเซียในรูปแบบ อาณานิคม ในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 20 เกิดกระแสชาตินิยม ในอินโดนีเซียต่อต้านการปกครองของเจ้าอาณานิคม
ใน พ.ศ. 2485 ญี่ปุ่นมีชัยชนะเหนือบริษัทดัตช์อีสท์อินเดีย และได้ เข้าปกครองอินโดนีเซียระยะหนึ่ง หลังจากที่ญี่ปุ่นแพ้สงคราม กลุ่มชาตินิยมนำโดยซูการ์โน และฮัตตา ได้ประกาศอิสรภาพให้แก่อินโดนีเซีย ในวันที่17 สิงหาคม พ.ศ. 2488จนกระทั่งวันที่27ธันวาคมพ.ศ.2488ดัตช์จึงได้ยอมมอบ เอกราชคืนให้แก่อินโดนีเซียอย่างสมบูรณ์
ในเดือนเมษายน 2525 นานาชาติได้ประกาศให้การยอมรับการอ้าง อธิปไตยเหนือพื้นที่ทะเล ซึ่งเชื่อมเกาะต่างๆ ของอินโดนีเซียเข้าด้วยกัน ทำให้อินโดนีเซียสามารถประกาศให้พื้นที่ทะเลเป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ของประเทศได้ในปี2526
4.ลักษณะประชากร
ประชากรอินโดนีเซียประกอบด้วยหลายเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์แต่ละ เผ่าพันธุ์ต ่างก็มีมรดกทางวัฒนธรรมและลักษณะทางสังคมของตน สืบทอดกันมามีลักษณะแยกกันเป็นหมู่เกาะมากมายและมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล ประชากรติดต่อกันได้ยาก ทำให้แต่ละภูมิภาคมีรูปแบบวัฒนธรรมของ ตนเอง จึงปรากฏลักษณะวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษา ที่ใช้และวิถีชีวิตแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มชน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น สามกลุ่มใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ
•เป็นกลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่ในเกาะชวาและเกาะบาหลี ผู้คนที่อยู่ในแถบนี้จะยึดมั่นตามแนวทางของศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ มีวัฒนธรรมเน้นหนักในเรื่องคุณค่าของจิตใจและสังคมก่อให้เกิดการพัฒนาศิลปะอย่างมากมายโดยเฉพาะนาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์
•เป็นกลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่ตามบริเวณริมฝั่งทะเลของ เกาะต่างๆ ดำเนินชีวิตอยู่ได้ด้วยการประกอบการค้าขาย มีชีวิตทาง วัฒนธรรมตามหลักของศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด และเป็นนักธุรกิจ ของสังคมอินโดนีเซียยุคใหม่ และได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีความรู้ทาง ศาสนาและกฎหมาย
•เป็นกลุ่มที่มีความล้าหลังมากอาศัยอยู่ตามบริเวณเทือกเขาในส่วนลึกของประเทศ ดำเนินชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์และการเพาะปลูก